Sprocket and Wear Strip Insatllation

ตอนที่ 4 การเลือกจำนวน Sprocket และจำนวนแถวของ Wear Strip

ก่อนเข้าเรื่องที่จะนำมาแบ่งปันในวันนี้ คอนเวเยอร์ไกด์ ขอสารภาพกับผู้อ่านว่าเรามีอุปสรรคพอสมควรในการหาข้อมูลเพื่อสื่อสารให้ผู้อ่านได้มองเห็นภาพใหญ่ (Big Picture) ที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจภาพรวมเป็นระบบตลอดจนสามารถเชื่อมโยงจากภาพใหญ่ที่สุดไปหาส่วนประกอบที่ย่อยที่สุด เนื่องจาก อันดับแรกที่เราสารภาพคือ เราไม่ได้เก่ง ไม่ได้มีความรู้ไปเสียทุกเรื่อง อันดับที่สอง ข้อมูลที่มีมันกระจัดกระจายเราต้องพยายามรวบรวมด้วยความยากลำบากแล้วนำมาแยกแยะ จัดหมวดหมู่ด้วยตัวเองในเวลาอันจำกัดทำให้งานเขียนของเราไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร อันดับสาม ทักษะการเล่าเรื่องจากประสบการณ์ที่สั่งสมมาเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นงานที่ไม่ค่อยถนัดนักเพราะงานเขียนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์คนเขียนเรียนมาด้านวิทย์ไม่ได้เจบมาด้านนิเทศฯศาตร์ ดังนั้นเรื่องที่นำเสนออาจจะไม่ไหลลื่นเหมือนนักเขียนอาชีพ จากนั้นต้องนำเรื่องทั้งหมดมาสรุปด้วยตัวเองเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแบบง่ายๆ ก็เป็นข้อจำกัดของเราอีกอย่างหนึ่ง ว่าไปแล้วก็ยากกว่าให้เราไปทำงานที่หน้างานเสียอีกแต่แน่ๆคือเราตั้งใจทำงานเพื่อนำความรู้มาแบ่งปัน ดังนั้นหากเรื่องราวใดๆก็ตามที่เรานำเสนอไป หากยังไม่ดีไม่สมบูรณ์หรือยังไม่ ชัดเจนพอ ผู้อ่านสามารถติดต่อเข้ามาคุยกับเราได้ เข้าใจตรงกันนะครับ เข้าเรื่องกันได้เลย

คู่มือการออกแบบการเลือกจำนวนของ Sprocket และจำนวนแถวของ Wear Strip

1.การเลือกจำนวน Sprocket และจำนวนแถวของ Wear Strip

การเลือกจำนวน Sprocket และจำนวนแถวของ Wear Strip (บน-ล่าง) ที่ใช้ใน conveyor ขึ้นอยู่กับภาระในการทำงาน ว่าใช้งานหนักแค่ไหน สายพานที่ทำงานเบาทั่วไปใช้ Minimum Number of sprocket (ตารางรูป1) ก็เพียงพอ สายพานที่ทำงานหนัก(แรงดึงของสายพาน > 50%ของแรงดึงสายพานที่รับได้) ก็ต้องเพิ่มจำนวนของ Sprocket มากขึ้น นอกจากนี้ยังขึ้นอยู่กับหน้ากว้างของสายพานด้วย(รูปที่ 1)


รูปที่ 1 การเลือกจำนวนของ Sprocket และจำนวนแถวของ Wear Strip



รูปที่ 2 หน้าตัดของสายพานระยะ bo x, a ดูในตราราง (รูปที่ 1)


2.การติดตั้ง Sprocket และ Wear Strip สำหรับสายพานที่รองรับด้วย Slider Bed แนะนำติดตั้ง Wear Strip โดยยื่นปลายให้อยู่ห่างจากเฟืองเล็กน้อย ตัดปลายเป็นมุมเอียง 15° (รูปที่ 3)


รูปที่ 3 ติดตั้ง Wear Strip ให้อยู่ห่างจากเฟืองเล็กน้อยเฉียงขอบ 15°


3.การติดตั้ง Sprocket สำหรับสายพานที่รองรับด้วย Wear Strip เพื่อการลำเลียงราบรื่นขึ้น ให้ยื่นปลาย Wear Strip เข้ามาใกล้ที่จุดศูนย์กลางเฟือง ตัดปลายเป็นมุมเอียง 15° (รูปที่ 4)


รูปที่ 4 ติดตั้ง Wear Strip ให้ให้เข้ามาที่จุดศูนย์กลางเฟืองเฉียงขอบ 15°


การติดตั้งตำแหน่ง Wear Strip ตำแหน่งเพลา (ระยะ Ao-A1-S) ให้ถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้สายพานเดินเรียบไม่มีเสียงรบกวน ตลอดจนลดการสึกหรอของเฟืองและสายพาน

4.การติดตั้งยึด(Lock) Sprocket บนเพลาเพื่อหลีกเลี่ยงเฟืองเคลื่อนตัว ไป-มาด้านข้าง ต้องยึด(Lock) เฟืองทุกตัวแน่นบนเพลา การยึด(Lock)เฟืองทำได้หลายวิธี เช่น


รูปที่ 5 การยึด(Lock) เฟืองโดยใช้แหวนโลหะล็อค



รูปที่ 6 การยึด(Lock) เฟืองโดยใช้แหวนพลาสติกล็อคเป็นวิธีที่ง่ายไม่ต้องเจาะเพลา



รูปที่ 7 การยึด(Lock)เฟืองโดยใช้สกรูล็อคเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัด


5.มาตรฐานร่องลิ่ม(Keyway)ของเพลากลม(Round Shaft)กรณีที่ออกแบบให้ใช้เพลากลมจะต้องเซาะร่องลิ่มเพื่อส่งถ่ายกำลัง มาตรฐานร่องลิ่ม(Keyway)ของเพลากลม(Round Shaft)ในหน่วย Metric(DIN6885) และหน่วย Imperial(ANSI B17.1) รูปที่ 8


รูปที่ 8 มาตรฐานร่องลิ่ม (Keyway) ของเพลากลม(Round Shaft)ในหน่วย Metric(DIN6885) และหน่วย Imperial(ANSI B17.1)


6. การติดตั้งแถบรองกันสึก (Wear Strip)



รูปที่ 9 รูปตัด(Cross Section) การติดตั้งแถบรองกันสึก (Wear Strip)


Wear Strip สามารถเลือกติดตั้งได้หลายแบบ แบบขนาน (รูปที่ 10) เป็นวิธีที่ประหยัดที่สุด แบบก้างปลาเป็นวิธีกระจายน้ำหนักทั่วสายพาน ทำให้สายพานสึกหรอเท่ากันตลอดทั้งพื้นที่


รูปที่ 10 การติดตั้งแถบรองกันสึก (Wear Strip) แบบขนาน เว้นระยะ(d)เพื่อการขยายตัวของ Wear Strip



รูปที่ 11 การติดตั้งแถบรองกันสึก (Wear Strip) แบบก้างปลา


หรือติดตั้งแบบก้างปลา(รูปที่ 11) ระยะห่างสูงสุดระหว่าง Wear Strip 100 มม. (4") สำหรับสายพาน Pitch 50 มม. มุมเอียงสูงสุด = 45° แนะนำให้ใช้ Wear Strip ที่ทำจากวัสดุ โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE/UHMW) Wear Strip ทำจากสแตนเลสมีแรงเสียดทานสูงมากทำให้สายพานดำและสึกหรอเร็วขึ้น


รูปที่ 12 การติดตั้งแผ่นรองกันสึก (Wear Strip)กันสายพาน Slide


ติดตั้ง Wear Strip ทำมุมเอียงประมาณ 15° (รูปที่ 12) ยื่นออกมาจากขอบของสายพานประมาณ 3 มม. เพื่อกันขอบสายพานไม่ให้เสียหายกรณีสายพาน slide ไม่แนะนำให้ใช้ลูกกลิ้ง เนื่องจากสายพานสามารถปีนขึ้นลูกกลิ้งทำให้ขอบสายพานเสียหายที่ได้ ช่องว่าง C (ช่องว่างระหว่างสายพานและ Wear Strip)ประมาณ 2.5% ของความกว้างของสายพาน


Visitors: 58,786