Conveyor layouts

Location of Pulley (ตำแหน่งของมู่เลย์)


คอนเวเยอร์ไกด์ไปดูหน้างานนำเรื่องราวดีๆมาแบ่งปัน(โรงงานปูนซีเมนต์)


1.Conveyor Layout การวาง layout ของระบบสายพานลำเลียง สามารถวางได้หลายรูปแบบหลาย profile ไม่ว่าจะวางในแนวราบ (horizontal) แนวเอียงขึ้น(inclined)หรือแนวเอียงลง(declined)รวมทั้งการวางในรูปโค้งลง (concave) หรือแบบโค้งขึ้น (convex) หรือจะเอารูปแบบใดๆมาประกอบกันเพื่อให้ได้รูปแบบ(Pattern) ที่เราต้องการก็ได้ สรุปง่ายๆก็คือเราสสามารถวางรูป layout ของ conveyor ตามที่ใจเราชอบได้ แต่มีข้อสำคัญที่ควรตระหนักไว้ในใจเสมอก่อนตัดสินใจครั้งสุดท้ายคือ ไม่ว่าจะวาง layout รูปแบบใดก็ตามควรจะมีจุดส่งถ่าย (transfer point ) ของconveyor น้อยที่สุดทั้งนี้เพื่อลดการสึกหรอของสายพาน (belt) ลดฝุ่น (dust) ลดเสียงดัง (noise) ลดการแตกหักและเสียหายของวัตถุที่ลำเลียง

• Profile ของระบบสายพานลำเลียง (belt conveyor) ที่แสดงข้างล่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งเท่านั้นเอง ในรูปจะเห็นมูเลย์ปรากฏอยู่ในตำแหน่ง(Location) ต่างๆใดๆก็ได้ตามlayout ที่เรากำหนดลองดูภาพประกอบข้างล่างนี้ เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

1.1 Horizontal Conveyor

Horizontal conveyor เป็นการวาง profile ของ conveyor ในแนวราบ


1.2 Declined Conveyor(ในแนวเอียงลง)


Declined conveyor เป็นการวาง profile ของ conveyor ในแนวเอียงลง
อย่างนี้ต้องติดตั้ง Back Stop ของ Conveyor Guide กันวัสดุ หก-ตก-หล่นจากการไหลกลับนะครับ


1.3 Inclined Conveyor(ในแนวเอียงขึ้น)

Inclined conveyor เป็นการวาง profile conveyor ในแนวเอียงขึ้น


1.4 Overland Conveyor


Overland conveyor เป็น conveyor ที่มี Conveyor Length ยาวมากๆบางกรณีอาจยาวหลายกิโลเมตร
มีทั้งเอียงขึ้น เอียง ลง และวิ่งในแนวรสบรวมกันอยู่ใน Conveyor Flight เดียวกัน


2.Pulley types (ประเภทของพูลเลย์)

เนื่องจากยังไม่มีใครแบ่งแยกประเภทของ Pulley (มูเลย์) ออกมาให้เป็นหมวดหมู่ที่ชัดเจน แล้วให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก (ถ้าท่านผู้ใดมีความรู้หรือทราบ รบกวนเผยแพร่แบ่งปันกับ conveyor guide บ้างนะครับ) ดังนั้นหากเราจะแบ่งประเภทของ pulleyเราจะแบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำพูเลย์ (pulley) ก็จะมีพัฒนาการดังนี้

 1.เริ่มทำจากไม้ (fabricated wood)
 2.ทำด้วยเหล็กหล่อ (cast iron)
 3.และปัจจุบันก็นิยมนำแผ่นเหล็กมาม้วนและเชื่อม
 (welded steel fabrication) ประกอบกับเป็นรูป pulley
 4.แต่ในทางปฏิบัติในบ้านเรา สำหรับ pulley ใช้งานเบา(light duty)
 และงานปานกลาง (medium duty) โรงงานผลิตหลายแห่งนิยมนำท่อเหล็ก
 มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ pulley ที่ต้องการเอามาตัด
 ทำเป็นตัว Body (drum) ของpulley เลย ก็นับว่าเป็นการประยุกต์
 ที่ใช้งานได้ดีทีเดียวแถมประหยัดเงินและราคาถูกกว่าใช้เหล็กม้วเชื่อม
 เนื่องจาก process การผลิตน้อยกว่า
 5.แต่หากเป็นประเภทใช้งานหนัก(heavy duty)
 ทาง conveyor guide ขอแนะนำให้ใช้แบบมาตรฐาน
 โดยมีการคำนวนแรงที่กระทำต่อ pulleyให้เป็นเรื่องเป็นราว
 เพื่อควบคุมความปลอดภัยจะดีกว่านะครับ เพราะหากดูเฉพาะภายนอก
  จะรู้สึกว่าpulley ทุกตัวไม่น่าจะชำรุดหรือ เสียหายได้แต่ในข้อเท็จจริง
 ในการใช้งานจริง pulley เสียหายได้หลายกรณีและเกิดขึ้นบ่อยๆด้วย

3.ประเภทของPulley ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้ Pulley ทำด้วยเหล็ก (steel) จะเป็นที่นิยมใช้กันมากสามารถผลิตได้หลายขนาดหลายsize ส่วนโครงสร้างจะมีลักษณะคล้ายๆกันคือประกอบด้วยส่วนที่เป็นตัว Body (drum) มีรูปทรงเป็นทรงกระบอก โดยมีแผ่นเหล็กปิดหัวปิดท้ายเรียกว่า end disc เชื่อมติดกับ hub ถ้าหาก pulley มีหน้ากว้างมาก (wide face pulley) จะต้องมีแผ่นเหล็กเชื่อมอยู่ระหว่างกลางที่ผิวด้านในของ pulley เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของผิวหน้า (rim) ของ pulley ด้วย

 ผิวหน้าของPulley มีหลายแบบเช่น
 2.เแบบผิวหน้าเรียบแต่ไม่มีสันเป็นแบบเรียบส้นตรง (straight faced)
 3.หน้าเรียบแบบมีสันเป็นหลังเต่า (crown faced)
 4.ส่วนแบบอื่นๆจะเรียกว่า pulley ทำหน้าที่พิเศษ เช่น
 pulley แบบมะเฟือง(wing pulley)ซึ่งจะทำหน้าที่ปัดวัสดุออกจากตัวเอง
 ไม่ให้ติด pulley (self-cleaning) ซึ่งจะติดตั้ง pulley ประเภทนี้ที่ tail หรือที่ take up
 ซึ่งมักเป็นตำแหน่งที่วัสดุมักติดกับผิวของ pulley อยู่เป็นประจำ

4.ข้อแนะนำสำคัญก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ Pulley แบบมะเฟือง (wing pulley) คือ

1. ต้องพยายามหาวิธีอื่นๆ ในการทำความสะอาดสายพานจนหมดทางเลือกแล้วว่าไม่ Work แน่แล้วจึงใช้ wing pulley เพราะการใช้ใช้ wing pulley จะมีผลเสียคือ มีเสียงดัง และทำให้สายพานเกิด Stress มากว่าปรติ เพราะผิวสัมผัสระหว่างสายพานและ Pulley ไม่เต็มหน้า อายุการใช้งานของสายพาน (conveyor belt) ลดลงไปมาก

2.Wing pulley ที่ใช้ควรมีความเร็วของสายพาน (belt speed) ไม่เกิน 450 ฟุตต่อนาที (fpm) หรือ2.29 (m/s) เมตรต่อวินาที เนื่องจาก wing pulley จะมีแรงเยื้องศูนย์กลาง (eccentricity) ทำให้pulley สั่นมีเสียงดัง ขณะความเร็วสูง

3.ห้ามใช้ Wing pulley ในตำแหน่งที่ต้องส่งผ่านtorque (transmit torque)สูงๆ เช่น ที่ Head Pulley ดังนั้นwing pulley ต้องใช้ที่ tail หรือ take up pulley เท่านั้น

5.ตัวอย่างรูปมู่เล่ย์เหล็กเชื่อมแบบต่างๆ (Typical welded steel pulley)

5.1 Drum conveyor pulley ( Pulley แบบผิวหน้าเรียบ)เป็นแบบที่ใช้กันปกติ ทั่วๆไป Recommend ใช้ได้ทุกตำแหน่งในระบบ Conveyor



5.2 Spun end curve crown pulley (pulley ผิวหน้านูนแบบหลังเต่าจะมี 2 แบบ)       

แบบ Long Face


แบบ Taper Crown CEMA ได้กำหนดมาตรฐานหลังเต่า (crown) ควรมีความเอียง 1 ส่วน 16 ถึง 1 ส่วน 8 นิ้วต่อฟุตของความกว้างของผิวหน้าทั้งหมด     


Welded steel pulley with grooved Lagging หุ้มยางด้วย
     


Wing Pulley
     
Wing Pulley ขนาดใหญ่ใช้ในระบบกระพ้อลำเลียงที่ Conveyor Guide ผลิต
Spiral Wing Conveyor pulley Modify จาก Wing Pulley โดยใช้เหล็กแผ่นแบนๆ
เชื่อมรอบๆตัวปีกด้านนอกเป็นการเพิ่มพื้นผิวสัมผัส ระหว่าง pulley กับสายพาน (belt)
ลดตวามเสียหายที่เกิดจาก Over Stress ขึ้นกับสายพาน และลดเสียงดังด้วย
     



Spiral drum conveyor pulleyในกรณีที่เป็นงาน Heavy duty
ที่ wing pulley (พูเลย์แบบมะเฟือง) ไม่สามรถทำความสะอาดได้ดีพอ
จึงต้องมีการดัดแปลงมาใช้pulley แบบลายก้นหอย (spiral pulley)
ซึ่งพื้นที่ผิวของ pulley จะสัมผัสกับผิวของสายพานได้มากกว่า wing pulley
จะทำความสะอาดได้ดีขึ้นและเสียงรบกวนก็จะน้อยลงด้วย



ในกรณีที่ต้องการ Pulley ใช้งานแบบพิเศษปัจจุบัน วิศวกรใช้ finite element เพื่อคำนวนความเค้น (stress)
ณ จุดต่างๆ ของ pulley โดยเฉพาะอย่างยิ่ง pulley ที่ต้องใช้งานหนักมาก ๆ (heavy duty) เช่นงานในเหมืองเป็นต้น



Visitors: 58,240