ตอบคำถามยอดฮิต ตอนที่ 2

หลายคำถาม..หลากคำตอบ.กับ สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)

8.ซึ่งวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีหลักๆอยู่ 4 ชนิดมีคุณสมบัติต่างกันอย่างไรจะเลือกใช้ยังไงดี ?

PP (Polypropylene) ตัวนี้เป็นตัวยอดฮิต นิยมใช้กันมากเพราะ เปรียบเทียบความคุ้มค่ากับสมรรถนะของการใช้งานแล้วน่าใช้ที่สุด เพราะราคาถูกที่สุด ไม่ต้องแปลกใจที่ผู้ขายจะแนะนำ PP เกือบทุก Application ให้ท่าน แต่จริงๆแล้ว PP เหมาะสมกับงานเบาถึงปานกลางทั่วๆไป ในสภาพแวดล้อมปรกติ ครอบคลุมการทำงานได้หลายหลากประเภท คุณสมบัติเด่นๆ คือ ทนความร้อนได้สูง (4-100 °C) ทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) ทนทานต่อสารเคมี ประเภทต่างๆ แต่เปราะเมื่อใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ(ติดลบ) ไม่แนะนำใช้กับงานที่มีแรงกระแทก(Impact)


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีหลากหลายชนิดมาก แต่ละชนิดก็จะเหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะ (Specific Application)


PE (Polyethylene) ตัวนี้เป็นเหมาะสมที่สุดกับการใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ -70°C-35°C (Low Temperature) ใช้งานในห้องเย็นได้ดี ทนต่อแรงกระแทกได้สูง (High Impact Resistance) ทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) มีความถ่วงจำเพาะ (0.95) น้อยกว่าน้ำจึงลอยน้ำได้นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมห้องเย็น สำหรับอาหารประเภทสัตว์ปีก (Poultry) เนื่องจากผิวลื่นไม่เกาะติดกับเนื้อสัตว์

POM หรือ Acetal (Polyoxymethylene/Polyformaldehyde) วัสดุตัวนี้เป็นวัสดุที่แข็งแรง(High Strength) กว่า PP หรือ PE เนื่องจากมีผิวแข็งแรงมาก ลื่นเหมาะสมที่สุดกับการใช้งานที่วัสดุลำเลียงเคลื่อนที่บนผิว (Slide Contact)ของสายพาน ด้วยความเร็วสูงเช่นการ ลำเลียงขวดหรือกระป๋อง และวัสดุตัวนี้ยังทนต่อแรงตกกระทบที่รุนแรง ทนต่อแรงกระแทกได้สูง(High Impact Resistance) ทนทานต่อการเสียดสี-ขีด-ข่วนได้ดี (High Wear Resistance) เหมาะสำหรับงานหนัก นิยมใช้กันมากในอุตสาหกรรมประเภทที่ต้องใช้ของมีคมสัมผัสโดยตรงกับตัวสายพานทนทานเช่น มีดตัดเนื้อสัตว์ มีดตัดเนื้อยาง นอกจากนี้ยังเหมาะสมกับการใช้งานในระยะยาว ในสภาพสิ่งแวดล้อมที่สัมผัสกับ กรดเข้มข้นสูง (High Concentration Acid) และ Chlorine ทั้ง PP-PE-POM สามารถสัมผัสโดยตรงกับอาหารได้

PA (Polyamide) ตัวนี้เป็นวัสดุที่แข็งแรง (High Strength) ทนทานต่อการเสียดสี-ขีด-ข่วนได้ดี (High Abrasion / High Wear Resistance ) เหมาะสำหรับการใช้งานหนัก ทนทาน ใช้งานที่อุณหภูมิสูงและแห้ง ไม่เหมาะสมกับงานเปียก

• เนื่องจากสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีหลากหลายชนิดทั้งประเภทของวัสดุ ลักษณะผิวหน้าที่แตกต่างกัน แต่ละชนิดก็จะเหมาะสมกับการใช้งานเฉพาะ (Specific Application) ประเภทนั้นๆ ถ้าเป็นมือใหม่ก็จะเข้าใจได้ยากหน่อยดังนั้น Conveyor Guide Co.Ltd ก็จะให้แนวทางการเลือกไว้ให้ท่านได้หยิบมาง่ายๆจะได้ไม่เสียเวลา

1.เลือกชนิดของวัสดุให้เหมาะสมกับการใช้งานเสียก่อนเช่นใช้งานที่อุณหภูมิต่ำๆ -70*C-35C* (Low Temperature) หรือทนต่อแรงกระแทกได้สูง (High Impact Resistance) หรือทนทานต่อการเสียดสี (Wear Resistance) หรือต้องการแข็งแรง (High Strength) มากๆ ใช้งานที่สิ่งแวดล้อมเปียกหรือแห้ง เพื่อให้เห็นภาพรวมจึงขอนำตารางที่บรรพบุรุษรวบรวมคุณสมบัติไว้แล้วมาเสนอต่อเพื่อท่านจะได้เลือกง่ายขึ้น


Material Selection Guide ตารางเลือกวัสดุให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมในการใช้งาน


2.เลือกแบบผิวหน้าของสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ให้เหมาะกับการใช้งานเช่นแบบผิวเรียบ(Flat Top) ทึบ ไม่มีรู ซึ่งจะให้ความแข็งแรงทนทานสูง ใช้งานทั่วไปเช่น ลำเลียงสินค้าที่เป็น package


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)ผิวหน้าเรียบ(Flat Top) ลำเลียงเนื้อสัตว์



สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ผิวหน้าเรียบ(Flat Top)ลำเลียง Package


• หรือเลือก Flush Grid มีรูสามารถระบาย (Drain) น้ำหรือของเหลวออกจากวัสดุและให้อากาศ ไหล (Flow) ผ่านตัวสายพานได้( 10-50%) ในไลน์ อบ-ล้าง ทำความสะอาด ไลน์ Colling


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ในไลน์ Colling


• และยังมีแบบแปลกๆที่ใช้งานได้มากมายหลาย Applications เช่น มีครีบ(Cleat) เพื่อลำเลียงในแนวชัน(Incline-Decline) มีขอบข้าง (Side Guard) ป้องกันของตก

ลำเลียงในแนวชัน (Incline-Decline) มีครีบ(Cleat) ขอบข้าง (Side Guard)


• มีผิวหยาบขรุขระ เคลือบด้วยยาง (Grip) ป้องกันของไหลหรือลื่นขณะลำเลียง หรือมีกระพ้อ (Bucket) หรือ Sidewall สำหรับขนถ่ายในที่สูงชัน ค่อยๆเลือกหรือสงสัยไม่เข้าใจสอบถามเราก่อนก็ได้


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีรูสามารถให้ น้ำหรืออากาศผ่านได้


3.เลือกกำลังขับหรือเลือกขนาดของ Motor เป็นการคำนวณล้วน ๆ ไม่สามากเล่าจบในหัวข้อนี้ได้ขอยกยอดไปเขียนแยกต่างหากในโอกาสต่อไปท่านใดสงสัยไม่เข้าใจ ใจร้อน อยากรู้ก่อน สอบถามเราบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd. ) มาเลยก็ได้


9.สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีลักษณะโครงสร้าง (Feature) อย่างไร ?

เท่าที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd. ) ได้เห็นและศึกษา สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ของหลายสำนักทั้งยุโรป อเมริกา เอเชีย ต่างก็มีลักษณะโครงสร้าง (Feature) คล้ายๆกันทั้งนั้นเข้าใจว่าสำนักที่เกิดขึ้นตอนหลังคงลอกคำตอบของสำนักแรกๆ แล้วเอามาแก้ไขนิดหน่อยเป็นของตัวเอง หลายแบบคล้ายกันมากถ้าไม่มียี่ห้อติดที่สายพานก็จะดูไม่ออกหรอกว่าใครเป็นใคร อย่างไรก็ตามลักษณะโครงสร้าง (Feature) ที่สำคัญของสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีดังนี้

1.สายพาน Modular Belt เป็นสายพานพลาสติก (Thermo Plastic) ที่ผลิตขึ้นมาจากการขึ้น Mold แล้วฉีด Plastic ออกมาเป็นชิ้นๆ (Unit หรือ Module) โดยนำมาประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้ (ROD) แท่งพลาสติกหรือ Stainless ยึดระหว่างตัวชิ้นส่วน แล้วต่อกันสลับแผ่นกัน ไป-มา ให้มีโครงสร้างการยึดกันแบบการก่ออิฐ (Bricklayer) ซึ่งให้ความแข็งแรง (Strength) ทั้งในแนวแกน (Longitudinal) และแนวขวาง (Lateral) ตัว ROD จะเป็นตัวรับแรงเฉือน (Shear)ในขณะที่สายพานทำงาน


ชิ้นส่วนต่อสลับแผ่นกัน ไป-มาแบบการก่ออิฐ (Bricklayer)


2.สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) นำมาประกอบเข้าด้วยกันโดยใช้ (ROD) ที่ทำหน้าทำคล้ายบานพับ (Hinge) ซึ่งมีอยู่ 2 แบบคือ

2.1 บานพับแบบปิด(Closed Hinge) ออกแบบมาให้ซ่อนแกนมิดชิด ป้องกันไม่ให้ Rod สัมผัสโดยตรงกับฝุ่นหรือเศษวัสดุ มีความแข็งแรงสูงและทนทานต่อการขัดสี (Abrasion Resistance) สูงเหมาะสำหรับการลำเลียงทั่วๆไป (Non Food) ไม่เหมาะสมกับการลำเลียงอาหารไม่ใช่ว่าทนแรงดึงไม่ได้แต่เป็นเหตุผลเรื่องความสะอาดไม่ผ่านเกณฑ์


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) แบบบานพับปิด (Closed Hinge)


2.2 บานพับแบบเปิด(Opened Hinge) ออกแบบมาสำหรับให้เหมาะสมกับการลำเลียงอาหารที่มีความสะอาดเป็นหัวใจสำคัญ บานพับแบบเปิด (Opened Hinge) นี้ จะมีช่องว่างมาก (Gap) ระหว่างข้อสายพาน (Link) จึงทำความสะอาดความได้ง่าย


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) แบบบานพับเปิด (Opened Hinge)


3.สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีผิวหน้า 2 แบบคือ

3.1 ผิวแบบเรียบ (Flat top) ปิดทึบ (Closed Belt Surface) ออกแบบมาสำหรับให้ผิวหน้าปิด ไม่มีรู (0% Open area)


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ผิวแบบเรียบ (Flat top) ปิดทึบติดยางเพื่อเพิ่มแรงเสียดทานใช้ลำเลียงสินค้าในแนวชันได้


3.2ผิวแบบFlush Grid มีรูสามารถระบาย (Drain) น้ำ หรือของเหลวออกจากวัสดุและให้อากาศ ไหล (Flow) ผ่านตัวสายพานได้( 10-50%) เพื่อเพิ่ม/ลด อุณภูมิ หรือให้น้ำไหลผ่านเพื่อทำความสะอาดวัสดุที่ลำเลียงได้


สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ผิวแบบFlush Grid มีรู



สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ในไลน์ Colling และช่วยเพิ่ม Capacity


10.อยากจะออกแบบสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt Conveyor) ต้องรู้อะไรบ้างครับ ?

เนื่องจากความสามารถที่โดดเด่นของสายพานModular มีหลายอย่างเมื่อเปรียบเทียบกับสายพานยางดำ สายพาน PVC- PU คือสายพานModular มีทั้งแบบที่เป็นแบบทึบ ไม่มีรู ซึ่งจะให้ความแข็งแรงทนทานสูง บางรุ่นมีรูสามารถระบาย (Drain) น้ำหรือของเหลวออกจากวัสดุลำเลียงรวมถึงไห้อากาศ Flow ผ่านตัวสายพานได้ เพื่อให้วัสดุแห้ง ก่อนส่งไป process ต่อไป และสายพานModular ยังมีแบบแปลกๆที่ใช้งานได้มากมายหลาย Applications ดังนั้นหากต้องการออกแบบ ก็ต้องรู้ข้อมูลเฉพาะ สภาพการทำงานและสิ่งแวดล้อมดังต่อไปนี้

1.ดู Application ของเราว่าต้องการสายพานเดินตรง (Straight )อย่างเดียวหรืออยากให้ตีโค้ง(Curve) ได้ด้วยหรือลำเลียงในแนวเอียง Incline


สายพานเดินตรง (Straight)



สายพานโค้ง(Curve) ได้หลายโค้งในเส้นเดียว



สายพานลำเลียงในแนวเอียง (Incline-Decline)


2.เลือกวัสดุให้เหมาะสมกับงานและสิ่งแวดล้อมของท่าน ดูรายละเอียดในบทความข้อ 4

3.ดูมิติ(Dimensions)ระยะต่างๆ ของระบบสายพานที่ต้องการเพราะสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt)มีหลักการออกแบบค่อนข้างตายตัวเรียกว่าบรรพบุรุษลองผิดลองถูกกันมามากแล้วก็เลยยกเอาตัวอย่างมาให้พวกเราใช้งานได้เลย มีรูปแบบการออกแบบมากมายหลายอย่างลองดูหนังตัวอย่างบางตอนข้างล่างนี้สำหรับสายพานที่เดินตรงๆก่อนครับ


มิติ(Dimensions) สำหรับออกแบบ ของสายพานเดินตรง (Straight)


4.เลือกความเร็วของสายพาน (Belt Speed)ปรกติแล้วสายพานโมดูล่าร์ ควรออกแบบให้มีความเร็วมากที่สุดไม่เกิน 60 เมตรต่อนาที ถามว่าทำความเร็วได้มากกว่านี้หรือเปล่า ก็ต้องตอบว่าทำได้แต่การสึกหรออาจจะมากกว่าปกติเท่านั้นเอง

5.ดูลักษณะจำเพาะของวัสดุที่ลำเลียง(Characteristics of Conveyed Product) ซึ่งแต่ละข้อก็จะมีผลกระทบกับการเลือกชนิดของสายพานด้วยครับ ลองมาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

- ความหนาแน่น(Density)

- ขนาด/รูปร่าง(Size/Shape)

- ความแข็ง/ความแกร่ง/ความเปราะ(Hardness/Rigidity/Brittleness)

- ลักษณะผิว เรียบ/หยาบ/เป็นเม็ด/เป็นก้อน/เหนียว(Texture)

- การกัดกร่อน(Corrosiveness)

- ความชื้น(Moisture Content)

- อุณหภูมิ(Temperature)

- ความฝืดหรือแรงเสียดทาน(Friction)

6.ดูกระบวนการเปลี่ยนแปลงระหว่างการลำเลียง ร้อน/เย็น/เปียก/แห้ง-มีลม/น้ำ


สายพานโมดูล่าร์แบบมีรูให้อากาศไหลผ่านได้เพื่อทำให้วัสดุเย็นลง


7.ต้องดูว่าต้องผ่านการรับรองของ FDA/EU/USDA หรือไม่ สายพานที่ต้องสัมผัสกับอาหารโดยตรง จะต้องได้รับ certificate รับรองจากองค์กรที่เชื่อถือได้เพื่อความมั่นใจว่าจะไม่เกิดอันตรายถ้าใช้วัสดุเหล่านี้เป็นสายพานลำเลียงอาหาร

8.ดูลักษณะการ Load และ Unload ของวัสดุ การโหลดและการจ่ายวัสดุที่ลำเลียงจะต้องทำด้วยความนิ่มนวล สม่ำเสมอและถ้าเป็นไปได้ควรโหลดหรือจ่ายในทิศเดียวกันกับการเคลื่อนที่ของสายพาน

สายพานโมดูล่าร์ลำเลียงกระป๋องหรือลำเลียงแพ็คเกจได้ดี

9.ดูสิ่งแวดล้อมขณะทำงานของโรงงานของท่าน

- การกัดกร่อน(Corrosiveness)

- ความชื้น(Moisture Content)

- อุณหภูมิ(Temperature)

- อันตราย มีฝุ่น/ไม่มีฝุ่น

- ดูกระบวนการเปลี่ยนแปลงระหว่างการลำเลียง ร้อน/เย็น/เปียก/แห้ง-มีลม/น้ำ


ความในใจของทีมงานคอนเวเยอร์ไกด์
    เป็นความตั้งใจของทีมงานที่จะไม่นำเสนอเรื่องที่คนอื่นจัดให้มากอยู่แล้วเช่น เรื่องแคตตาล็อก(Catalog) ต่างๆ แต่เราจะนำเสนอเรื่องราวความรู้ในแง่มุมของ หลักการ(Principle)และเหตุผล(Reasons) ว่าจะต้องทำยังไง(How)และทำไม(Why)จะต้องทำอย่างนั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่หาข้อมูลได้ยากพอสมควร แม้แต่ในตำราก็ไม่เคยบอกไว้ และก็ไม่มีใครเขาอยากจะบอกกัน หรือ ดังนั้นเนื้อหาบางเรื่องจึงเป็นเรื่องที่ผ่านการลงพื้นที่จริงของทีมงานแล้วนำมาวิเคราะห์บอกกล่าวผู้อ่านกันเอง

ลองถามมาเลยครับถ้าเป็นเรื่องสายพานลำเลียง (Conveyor Belt) ไม่ว่าจะเป็นสายพานยางดำ (Rubber Belt), สายพานกระพ้อ (Elevator Belt) สายพานพลาสติกโมดูลาร์ (Modular Belt) สายพาน PVC BELT , PU BELT, สายพานท็อปเชน(Flat Top Chain) ทีมงานวิศวกรจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่มีเบื้องหลังและประสบการณ์การทำงานด้านระบบสายพานลำเลียงทั้งระบบสายพานลำเลียงทั้งขนาดใหญ่(Heavy Duty)ที่และขนาดเบา(Light Duty) ร่วมกันแบ่งปันความรู้กับท่านผู้อ่านผ่าน website นี้

ยินดีแชร์กันทุกแง่มุม ตั้งแต่ การออกแบบ การผลิต การเลือก การเก็บรักษา การบำรุงรักษา การซ่อมแซม การต่อสายพาน การใช้งาน การ Modifyมีของเท่าไหร่ปล่อยหมด ไม่มีกั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม เปิดๆกันไปเลย เราบริการ ดัง MOTTO “ บอกทุกเรื่อง...ที่คนอื่นไม่อยากให้คุณรู้ “เสิร์ฟข่าวสาร อาหารสมอง” อย่างจุใจจริงๆ” “ตอบโจทย์เฉพาะเรื่อง....ครบเครื่องเรื่องสายพาน”

ขอขอบคุณ Supplier ทั้งใน อเมริกา ยุโรปและเอเชีย ที่ให้โอกาสเราได้เยี่ยมชมโรงงานและขบวนการผลิตตลอดจนให้ข้อมูลด้านเทคนิคลึกๆที่เป็นประโยชน์....ขอบคุณปัญหาทุกรูปแบบที่ทุกผู้บริโภคหรือผู้อ่านเป็นผู้นำโอกาสมาให้เราได้เรียนรู้....ขอบคุณผู้ที่เขียนตำราทั้งใน Website และText book…. ขอบคุณเพื่อนๆร่วมอาชีพที่ได้แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์....ขอบคุณ Maker ผู้สร้างเครื่องจักรทั้งหลาย ที่ให้ข้อคิดเห็นดีๆที่เป็นประโยชน์ และสุดท้ายขอบคุณฝ่ายMaintenance ฝ่ายจัดซื้อและบัญชีการเงินของลูกค้าทุกท่านที่จ่ายเงินตรง Due....เราหวังว่าเราจะเดินทางไกลไปพร้อมๆกับคุณ ..If you want to walk fast…work alone. If you want to walk far...walk together. จึงเป็นที่มาของแนวคิดเรื่องการแบ่งปัน ‘Together we Share’ ผลงานที่นำมาเสนอ อาจจะ ออกช้าบ้างแต่ที่แน่ๆคือมันจะมีออกมาเรื่อยๆ....นี่คือคำสัญญาจากเรา

สุดท้าย บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกท่านที่ให้กำลังใจติดตามอ่านผลงานและสนับสนุนสินค้าของเรา เราสัญญาว่า จะนำเสนอเรื่องราวดีๆมีประโยชน์มาให้ท่านได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ เราจะตอบสนองท่านอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่หยุดนิ่ง เราไม่เคยทำงานลวกๆ หรือลดระดับการปฏิบัติงานตนเอง เราทราบวิธีและมีความสามารถ ที่จะสร้างสร้างความ เรียบง่ายบนซับซ้อนอยากใช้เราก็ติดต่อเราครับ ง่ายนิดเดียว สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail Line : @cg1356 จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด ไม่รู้จักใน Line ยังกล้าทัก ตัวเป็นๆ น่ารัก รีบทักเลย เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา หรือต้องการให้เราไปอบรมหรือจัดสัมมนาให้หน่วยงานบำรุงรักษาในหน่อยงานของท่านก็ได้ (มีค่าบริการนะครับ) ไม่เพียงแต่เรื่องนี้เท่านั้นนะครับ เรื่องอะไรก็ได้ที่ท่านอยากรู้เกี่ยวกับสายพานลำเลียงก็ลองติดต่อเข้ามาได้อะไรที่แบ่งๆกันได้และไม่เปลืองทรัพยากรจนเกินไปก็ยินดีรับใช้ฟรีครับ เพราะเรามี Motto การทำงานคือ "Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน...แลกเปลี่ยน...เรียนรู้ ร่วมกัน" ครับ เราจะหาความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ระบบลำเลียงมานำเสนออย่างสม่ำเสมอ “มีของเท่าไหร่ก็ปล่อยหมด ไม่มี กั๊ก ไม่มีดึง ไม่มีเม้ม” “ถึงแม้ว่าเราจะเดินช้า...แต่เราก็ไม่เคยหยุดเดิน” แล้วพบกัน
สามารถติดต่อ โทรศัพท์ : 02-992-1025, 090-9076077, 083-1318644
โทรสาร : 02-992-1022
Email : Info@conveyorguide.co.th
Website : www.conveyorguide.co.th
Line : @cg1356


Visitors: 56,456