Modular Belt คุณทำเองได้

สายพาน Modular Belt คุณทำเองได้...ง่ายนิดเดียว

1.ความเป็นมา ทำไมต้องทำเอง

หลังจากที่บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd.) ได้ลงบทความเรื่องสายพานลำเลียง D.I.Y. แบบยางดำ คุณทำเองได้ ปรากฏว่ามีเสียงตอบรับมาถึงเราดีมากทั่วทุกภาค
จากเหนือ เชียงใหม่ ลำพูน ถึงใต้ กระบี่ นครศรีธรรมราช อีสาน สุรินทร์ กาฬสินธุ์ และภาคกลางอีกหลายจังหวัด ที่เราภูมิใจสุดๆก็คือ เสียงจากผู้อ่านที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพ ทั้งจากเหนือและอีสาน
ที่บอกเราว่าเมื่ออ่านบทความและได้รับคำแนะนำจากเราแล้วเกิด ‘แรงบันดาลใจ’ มีลูกฮึด ลองทำจนประสบผลสำเร็จใช้งานได้ เรื่องประหยัดเงินประหยัดเวลานั้นเป็นผลพลอยได้ไปเสียแล้ว แต่ความภูมิใจแบบข้าก็มีฝีมือเหมือนกันนี่ซิ มีประสบการณ์แก้ไขปัญหาเองได้เพราะทำเองมากับมือ เรื่องอย่างงี้มีเงินก็ซื้อไม่ได้ คิดมาเมื่อไหร่ขนแขนก็ Stand Up ทุกครั้ง เราก็ขอแสดงความยินดีกับความสำเร็จด้วยก็แล้วกันนะครับ

นี่ก็เป็นผลสืบเนื่องจากท่านผู้อ่านที่มี Feed Back กับเรามาดีมากๆ บอกว่าอยากจะให้ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) นำ Idea ดีๆประเภท D.I Y นี้มาฝากอีก
เราก็เกิดมีกำลังใจมีลูกฮึด เกิด ‘แรงบันดาลใจ’เช่นกัน วันนี้จึงตั้งใจนำ เรื่อง “Modular Belt คุณทำเองได้..ง่ายนิดเดียว” ซึ่งเป็นระบบสายพาน Generation ใหม่ลำเลียงสินค้าได้สารพัดที่จะมาทดแทนสายพาน PVC, PU ส่วนใหญ่ในเร็วๆนี้แน่นอน ติดตามwebsite ของเราสม่ำเสมอรับรองท่านจะเพื่อไม่ให้ท่านตก Trend ใหม่ๆในวงการขนถ่ายอย่างแน่นอน

ขอให้กำลังใจสำหรับท่านที่กำลังคิดจะทำสายพาน Modular Belt ด้วยตนเองว่า หากท่านเคยทำสายพานลำเลียงประเภท ยางดำหรือเคยทำสายพาน Light Duty ประเภทสายพาน PVC, PU
แล้วการ ทำสายพาน Modular Belt เป็นเรื่อง ชิวๆ เด็กๆไปเลย เรื่องนี้เหมาะสำหรับสำหรับท่านที่มีงบประมาณที่จำกัด อยากจะสร้างระบบสายพานลำเลียง Modular Belt ประเภท D.I.Y เอาไว้ใช้งานเอง ไม่ต้องเลิศเลอ เพอร์เฟค อะไรมาก แค่ฝากฝีมือตัวเองให้ใช้งานได้ก็พอใจแล้ว โดยตั้งสมมุติฐานว่าท่านมีช่างอยู่จำนวนหนึ่ง มีเครื่องมือพื้นฐานประเภท เครื่องตัด เครื่องเจาะ เครื่องเชื่อมอยู่แล้ว
จะทำอย่างไรดี?

2.คุณประหยัดได้แค่ไหน?

ก่อนเข้าเรื่องราวจริงๆบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด มีคำตอบและสาระดีๆมารับใช้ท่านครับ อาจจะนอกเรื่องไปหน่อย แต่อยากให้ท่านทราบว่าเวลาท่านจะสั่งซื้อระบบสายพานลำเลียง สักหนึ่งชุด
ผู้ทำ ผู้ผลิต ผู้รับเหมา หรือ Maker เขาคิดราคาหรือเขามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้างและเขาประเมินราคากันอย่างไรบ้างเพื่อให้ท่านรู้เขารู้เรา เวลาจะพิจารณาว่าจ้างเขาทำงานจะได้เข้าใจธรรมชาติของราคา มีข้อมูลพร้อมสำหรับการตัดสินใจ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) ขออาสาสมมุติประเมินค่าใช้จ่ายแบบสมมุติในการทำ Conveyor สัก 1 -2 ชุดเป็น เปอร์เซ็นต์ สำหรับงานเล็กๆประเภท Mini Conveyor หรือเป็นงาน Project เล็กๆ เพื่อให้ท่านเข้าใจง่ายๆดังนี้

1.ดูหน้างานหรือ Site Visit มีค่าใช้จ่ายประมาณ 20%

2.งานโครงสร้าง+สายพานมีค่าใช้จ่ายประมาณ 70%

3.ติดตั้ง ขนส่ง มีค่าใช้จ่ายประมาณ 10%

เรามาดูรายละเอียดกันหน่อยว่ามันมีเหตุผลอย่างไรกัน

1. การดูหน้างานหรือ Site Visit มีค่าใช้จ่ายประมาณ 20% ของมูลค่างาน ลองยกตัวอย่างนิดหนึ่ง หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวระบบสายพานหรือต้องการจะทำระบบสายพานกับสัก 1 ชุด ก่อนอื่นเลยท่านก็จะติดต่อเรียกผู้ผลิตหรือผู้รับเหมา เดินทางมาที่โรงงานของท่านเพื่อสอบถามและบอกถึงปัญหาและความต้องการของท่าน สังเกตไหมครับหลายครั้งคำตอบคือผู้ผลิตจะไม่ค่อยอยากจะเดินทางมาหา แต่จะขอข้อมูลเบื้องต้นเพื่อวินิจฉัยเสียก่อนเสียก่อน ในมุมมองของท่านก็จะคิดว่าถ้า(มึง/คุณ)ไม่มาจะรู้เรื่องยังไง(วะ?) และจะเริ่มหงุดหงิด คิดว่าหยิ่งนักเหรอบริษัทนี้จะเอาเงินให้แท้ๆ
ไม่อยากได้เงินหรืออย่างไร? อย่างไรก็ตามก็ยังต้องการให้ผู้ผลิตมาคุยงานที่หน้างานของโรงงานอยู่ดี ทำไมความต้องการของ 2 ฝ่ายจึงไม่สามัคคีกัน มันมีเหตุและผลอยู่เบื้องหลังครับ ยังงั้นเรามาดูมุมมองของคนอื่นนอกเหนือจากเจ้าของงานบ้างว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง

คำตอบหนึ่งก็ต้องมาที่มุมมองของผู้ผลิต(ผู้รับเหมา)กันมั่ง เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจผู้รับเหมาครับ เนื่องจากธรรมเนียมปฏิบัติในบ้านเรายังไม่ยอมรับว่างานบริการ เช่น ตอบคำถาม แนะนำการแก้ปัญหา ถือว่ายังไม่ใช่งานที่ต้องจ่ายเงิน ผู้รับเหมาหลายๆเจ้าก็คงมีประสบการณ์อันน่าจะขื่นขม และเฝื่อนๆอารมณ์ แต่ต้อง อมพนำพูดไม่ได้ ทำให้ “แน่นอก”เหมือนน้องใบเตย เพราะทุกครั้ง ที่ล้อหมุน ไปดูหน้างานนั่นหมายถึงค่าใช้จ่ายเริ่มขึ้นแล้ว ขณะที่รายรับยังล่องลอยอยู่ในอากาศ ไปดูหน้างานหนึ่งครั้ง บางครั้งมี วิศวกร 1 คน หรืออาจพ่วงช่างเทคนิคอีก 1 คน ไปทั้งวันอย่างแน่นอนเพราะรถติด ค่ารถ ค่าน้ำมัน ค่าตัว ค่าเสียเวลาตีรวมๆ คงประมาณ 5,000 บาทต่อครั้ง(กว่าจะเสร็จงานเฉลี่ยแล้วต้อง 3 ครั้งขึ้นไปค่าใช้จ่ายตัวนี้ต้องบวกเข้าไปในราคาขาย ซึ่งหากไม่ได้งานก็ต้องเข้าเนื้อตัวเองไป) ซึ่งวางบิลกับลูกค้าไม่ได้ เพราะลูกค้าที่บ้านเราถือว่ามาดูงาน คือมารับทราบปัญหามารับทราบความต้องการ ถึงแม้จะบอกวิธีแก้ปัญหาไปแล้วก็ยังไม่ถือว่าเป็นงานเพราะจับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น ไม่เหมือนกับฝรั่งถ้าได้เดินทางมาพูดคุยล่ะก็คิดค่าแรงกันเป็นรายชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร เพราะถือว่าเป็นงานบริการ และเป็นวิชาชีพอย่างหนึ่ง คล้ายๆกับเราไปปรึกษาปัญหากับหมอหรือทนายความทำไมเราต้องจ่ายเงินเช่นกัน กับคนทำ Conveyor หรืออาชีพคล้ายๆกันนี้ก็ออกจะโชคร้ายไปหน่อย

เท่านั้นยังไม่พอนะครับ เมื่อดูหน้างานแล้วก็ถึงเวลาที่ต้องส่งราคา ฝ่ายลูกค้าก็ต้องการได้รายละเอียดมากที่สุด(แต่ไม่เข้าใจว่ามันต้องใช้เวลาและทรัพยากรของผู้รับเหมามากเพียงใด) เพราะส่วนมากคนของฝ่ายเจ้าของงานที่ติดต่อกับผู้ผลิต(ผู้รับเหมา) จะเป็นบุคคลฝ่ายช่างซ่อมบำรุงหรือฝ่ายผลิตที่ไม่มีอำนาจตัดสินใจซื้อ แต่เป็นผู้ต้องการใช้งาน จึงมีความจำเป็นต้องรู้ข้อมูลมากๆละเอียดที่สุดเพื่อไปอธิบายให้ฝ่ายจัดซื้อหรือหัวหน้าที่อยู่ลำดับสูงขึ้นไปหรือเจ้าของกิจการให้เข้าใจถึงความจำเป็นและเห็นคล้อยตามงานที่เสนอเพื่อจะได้อนุมัติให้ซื้อมาแก้ปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่.... งาน(ฟรี)ก็จะมาตกที่ผู้รับเหมาอีก คือต้องทำรายละเอียดเช่น มีการคำนวณด้านเครื่องกล ไฟฟ้า โยธา แล้วแต่ความจำเป็นของงาน..เสร็จแล้ว ใส่SPECIFICATION ทำ Sketch Drawing หาราคาวัสดุอุปกรณ์ซึ่งงานเหล่านี้ต้องใช้เวลาและทำโดยผู้มีความรู้และประสบการณ์ และมีค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถวางบิลกับใครได้เลย เอ๊า...อยากได้งานนี่นาต้องอดทนๆๆๆๆ (คาถาที่ ผู้รับเหมาต้องท่องไว้ในใจเสมอ)... ส่ง QUOTATION ไปแล้ว... ใจก็นึกลุ้นด้วยความหวังเต็มเปี่ยมว่าคงได้งานแน่เพราะบริการสุดหัวใจอย่างนี้ เสริฟงานอย่างไร้รอยต่ออย่างนี้ ช่างฝ่ายเจ้าของงานต้องเข้าใจและเห็นใจต้องเชียร์เราแน่ๆวันนี้ส่ง QUOTATION ไปแล้ว... ขอนอนหลับแบบสบายใจสักวันเถอะสบายๆๆๆๆๆๆๆ

5 วันต่อมาได้รับโทรศัพท์จากช่างฝ่ายเจ้าของงาน ดีใจ ว่างานนี้คงไม่พ้นเรามือเราแน่ๆเพราะเราเป็นคนออก Concept เองใครจะมารู้งานดีเท่าเรา ช่างแจ้งว่า ขอบคุณ งานที่เสนอมาถูกใจมากเลยยังเหลือข้อมูลอีกนิดหน่อยฝ่ายจัดซื้อเขาขอข้อมูลเพิ่มเติมประกอบ Quotation เช่น ขอ Layout พร้อมDrawing อย่างละเอียดด้วย Drawing ที่ให้มาก่อนหน้านั้นยังไม่ละเอียดพอให้เจ้านายดูแล้วยังไม่เข้าใจ อ้อเจ้าของงานบางเจ้าหนักหน่อยขอราคาBreak Down แต่ละรายการด้วยนะ (เขี้ยวจริงๆ...โดยเฉพาะบริษัทยักษ์ใหญ่...ชอบขอมาก)... งานก็เข้าอีกแล้วครับท่าน เอ๊าก็ยังนึกดีใจว่า งานเราอย่างน้อยก็ผ่านตาเจ้านายแล้วโอกาสลุ้นมีสูง เอาเลย จัดให้ จัดหนักเลยคราวนี้ Drawing ละเอียด Specification ครบ พิมพ์ 4 สีดูง่าย อธิบายรายละเอียดครบ จ้างร้านเย็บเข้าเล่มปกพลาสติกแข็งอย่างดี
รายละเอียดประมาณนี้ถ้ามีโรงFab. ประมาณว่าทําเองได้เลย.. ก็อยากได้งานนี่นา ทำไงได้ต้องอดทนอย่างเดียว..ท่องไว้ๆๆๆๆๆ

7 วันต่อมาได้รับโทรศัพท์จากช่างฝ่ายเจ้าของงานอีกแจ้งว่า เรื่องกำลังพิจรณาอยู่อีก 10 วัน จะออกใบ P.O ได้ ดีใจมากว่าเดิมเพราะมีการติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ได้รับข่าวแต่เชิงบวก ข้อมูลถึงกันตลอด ว่างานนี้ต้องเป็นเราแน่ๆ 100% ชัวร์ คราวนี้ก็ตั้งใจรอ 10 วันหรรษาที่จะมาถึง... แต่12 วันผ่านไปก็ยังไม่มีวี่แววว่าจะได้รับแจ้งเรื่องความคืบหน้าของงานเสนอราคา ผู้รับเหมาชักกระวนกระวายอยู่ไม่ค่อยเป็นสุขยกหูถึงช่างเจ้าของงาน ถามความคืบหน้างานที่เสนอถึงไหนแล้ว ช่างก็บอกว่า อ้าว...ฝ่ายจัดซื้อเขายังไม่แจ้งพี่หรือว่าเขาสรุปและได้ออก P.O ไปแล้ว พี่ลองไปตามที่ฝ่ายจัดซื้อดูต่อนะครับ ฝ่ายผมหมดหน้าที่แล้ว

ฝ่ายจัดซื้อ สวัสดีค่ะ... อ๋อ งานที่ว่านั้นเหรอคะ ทางเราออก P.O ให้บริษัท อยู่เฉยเฉย จำกัดไปตั้งแต่ เมื่อวานแล้วนี่คะ ขอโทษคุณยังไม่ได้รับ P.O. หรือคะ... บริษัทของผมชื่อ บริษัท เสนอก่อน จำกัด ไม่ใช่บริษัท อยู่เฉยเฉย จำกัด ครับ... ไหนฝ่ายช่างบอกผมเมื่อ 10 กว่าวันก่อนว่า จะออก P.O ให้เรา (ไปอ่านดีๆซ่ะเขาบอกว่าจะออก P.O ได้ ไม่ใช่ออก P.O ให้คุณได้ อย่าทึกทักเอาเอง)...ไม่ทราบซิคะตามกฎบริษัท เรามีหน้าที่เปรียบเทียบราคา 3 บริษัท ราคาของบริษัท อยู่เฉยเฉย จำกัด ต่ำสุด (ก็แน่ล่ะซิไม่ได้ออกแรงอะไรเลยนี่ เฉยๆ แต่โชคดีตลอด) ก็เลยได้รับ P.O ไปเราไม่รู้ว่าฝ่ายช่างคุยยังไงกับคุณหรอก...อ้าว...แล้วบริษัท อยู่เฉยเฉย จำกัดทำราคาส่งได้อย่างไร?เมื่อเขาไม่รู้ว่าScope ของงานว่าเป็นยังไง?(ผู้รับเหมาชักมึน)...จัดซื้อ..อ๋อเราก็เอาราบละเอียดงานที่คุณเสนอมาให้เรามา ส่งให้ผู้รับเหมาเจ้าอื่นเขาตีราคาด้วย รายละเอียดครบถ้วนเชียวล่ะคะ ไม่มีใครต้องมาดูหน้างานก็ตีราคาได้ คุณทำงานได้ละเอียดดีมากจริงๆถ้ามีงานครั้งต่อไปเราจะเชิญคุณมาคุยเป็นเจ้าแรกเลยนะคะ เราใส่ชื่อบริษัทคุณไว้ใน Vender List ว่าเป็นผู้รับเหมาที่เสนองานมีรายละเอียดได้เกรด A ดีเยี่ยม เรียบร้อยแล้ว. (ผู้รับเหมาชักมึนหนัก????) บริษัท เสนอก่อน จำกัดก็ได้แต่ใบ้รับประทาน ....ได้แต่นึกโกรธในใจว่า ที่แท้ก็เอางานของเราไปแห่นี่หว่า...ใจเย็นๆๆ..นับ 1 ถึง1000 นับนิ้วมือ นิ้วเท้า หายใจลึกๆท่องพุทธโธๆๆ...นะโมๆๆไม่รู้กี่จบต่อกี่จบ...ถ้าท่านเป็นผู้จัดการ บริษัท เสนอก่อน จำกัด ท่านจะทำอย่างไรสำหรับงานต่อไป

1.ไปดูหนางานเสนองานพร้อมรายละเอียดเหมือนเดิม(ได้รับคำชม)

2.เสนองานพร้อมรายละเอียดมากขึ้นและดีกว่าเดิม(อยากได้คำชมมากขึ้น)

3.รอให้บริษัทอื่นเสนอก่อนแล้วค่อยขอรายละเอียดเพื่อตีราคา(ไม่เหนื่อยฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย)

4.แน่นอก ยกออก สาบส่งแล้วไม่หันหลังมามอง ไปตายเอาดาบหน้า

5.ขอข้อมูลเบื้องต้นเพื่อพิจารณาเสียก่อน

6.ขอบคุณ โอกาสหน้าถ้ามีเชิญผมเป็นคนสุดท้าย อื่นๆๆๆๆๆๆ..นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...”ใจเขาใจเรา” ถ้าอ่านไม่ออกให้กดแป้นภาษาไทยดูครับ

2.งานโครงสร้าง+สายพานมีค่าใช้จ่ายประมาณ 70% ค่าใช้จ่ายส่วนนี้เป็นค่าใช้จ่ายหลัก หมายถึงค่าเหล็ก ค่าสายพาน ค่าวัสดุสิ้นเปลือง ค่าแรงงานช่าง ค่าสี ค่าความเสื่อมราคาของเครื่องมือ
ค่าการจัดการทุกอย่างเพื่อให้งานแล้วเสร็จ

3.ติดตั้ง ขนส่ง วางบิล มีค่าใช้จ่ายประมาณ 10% เมื่องานเสร็จแล้วก็ต้องขนส่งชิ้นงานไปส่งที่หน้างานหรือที่โรงวาน ต้องจ้างรถบรรทุกไปส่งให้ ถ้าชิ้นงานใหญ่ แรงคนยกไม่ไหมก็ต้องจ้างรถเครนยกขึ้นรถ ต้องมีคนติดรถเพื่อไปวางบิล บางโรงงาน Safetyเป็นพี่ใหญ่ เฮี้ยบมาก ต้องส่งรายละเอียดยิบเลยก่อนเข้าโรงงานเช่น รถทะเบียนอะไร ยี่ห้ออะไร มากันกี่คน ขอสำเนาบัตรประชาชนด้วย คนขับขอสำเนาใบขับขี่ด้วย ส่งก่อนจะไปส่งของต้องแจ้งล่วงหน้า 1วันนะ...วันไปถึงก็ต้องรออีกหลายชั่วโมงติดนั่นติดนี่...ตรวจนั่นตรวจนี่กว่าจะเสร็จก็ล่อไปหลายชั่วโมง...งานอย่างนี้เป็นค่าใช้จ่ายทั้งนั้น คนเป็นลูกจ้างของบริษัทเขารู้สึกไม่ได้หรอก เพราะมันไม่กระทบกับเงินในกระเป๋าของเขา เขาเพียงแต่จะถามว่าคิดค่าขนส่งยังไงกัน แพงมาก แต่เขาไม่เข้าใจหรอกว่าไส้ในของคาว่าค่าขนส่งนั้นมันยังมีรายละเอียดอีกมาก เรื่องอย่างนี้ผู้รับเหมาเขาต้องคิดราคาเผื่อไปด้วย

สรุปติดตั้ง      


3.ส่วนประกอบของระบบสายพาน Modular

เริ่มที่มาทำความรู้จักกับระบบสายพานลำเลียง Modular Belt แบบพื้นๆทั่วไปว่า มีส่วนประกอบหลักๆอะไรกันบ้าง เอาเฉพาะอุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบให้ระบบทำงานได้มี 3 ประเภทดังนี้

สรุปติดตั้ง      


3.1. โครงสร้าง (Conveyor Structure) ของระบบสายพาน อาจใช้เป็น โครงเหล็กสำหรับงานทั่วไป และใช้เป็นโครงสร้าง Stainless สำหรับงานในอุตสาหกรรมอาหาร กรด สารเคมี (Stainless Structure) ส่วนที่ใช้เป็นฐานรองรับสายพานจะเป็น Wear Strip ซึ่งจะรองรับน้ำหนักทั้งหมดของระบบ รวมทั้งน้ำหนักสายพาน และน้ำหนักวัสดุที่บรรทุก ระบบโครงสร้าง (Conveyor Structure) ส่วนนี้ท่านสามารถทำเองได้ไม่ยากไม่ซับซ้อน เพราะใช้เครื่องตัด เครื่องเจาะ เครื่องเชื่อมก็ทำงานได้แล้วถ้าเคยทำ Mini Conveyor หรือระบบสายพานPVC แล้วโครงสร้างของระบบสายพาน Modular Belt ง่ายกว่าเยอะเลยลองดูตัวตามรูปอย่างข้างล่าง


ถ้าเคยทำ Mini Conveyor หรือระบบสายพาน PVC แล้วโครงสร้างของระบบสายพาน Modular Belt ง่ายกว่าเยอะ      


      
โครงสร้างระบบสายพาน Modular แบบตรง (Straight) 

      
โครงสร้างระบบสายพาน Modular แบบโค้งทำยากขึ้นหน่อย


3.2. ระบบขับเคลื่อน (Drive Unit) คือ มอเตอร์และเกียร์ ท่านสามารถซื้อตรงกับผู้ขาย หรือตัวแทนผู้ผลิตได้ประหยัดเงินได้ไปส่วนหนึ่ง

3.3. อุปกรณ์และชิ้นส่วนอื่นๆ (other Component) ก็มีตัวสายพาน(Modular Belt)และ “Wear Strip” และ Sprocket ทั้งสามสิ่งเป็นชิ้นส่วนสำเร็จรูปมาจากโรงงาน ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น แค่สั่งซื้อกับบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด(Conveyor Guide Co.Ltd.) ก็เป็นอันเรียบร้อย ที่ท่านต้องทำเองคือเพลา (Shaft) สี่เหลี่ยมมีงาน Machine คืองานกลึงมาเกี่ยวข้องบ้าง ขนาดของเพลาก็ตามขนาดรูของ Sprocket (มีแค่เครื่องตัด เครื่องเจาะ เครื่องเชื่อม ไม่เพียงพอ) ซึ่งต้องอาศัยฝีมือและความรู้พอประมาณในการผลิต ถ้าท่านทำเองได้ก็ดี แต่ถ้าทำไม่ได้ ท่านสามารถ จ้างร้านข้างนอกทำแล้วนำมาประกอบเองจะประหยัดค่าขนส่งและติดตั้งได้

      
สายพาน (Modular Belt) และ “Wear Strip”



Sprocket


4. ขั้นตอนการทำและประกอบระบบสายพาน Modular

4.1 เลือกประเภทวัสดุและรูปแบบของสายพานให้เหมาะสมกับงานของท่าน สายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) ผลิตโดยการฉีดพลาสติก ให้เป็นชิ้นๆ (Module) ซึ่งวัสดุที่ใช้ผลิตเป็นสายพานโมดูล่าร์ (Modular Belt) มีคุณสมบัติแตกต่างกันไป ท่านต้องเลือกประเภทวัสดุให้เหมาะสมกับงาน (Application) ของท่าน รายละเอียดขอให้อ่านใน Website ของเรา วัสดุหลักๆอยู่ 4 ชนิดด้วยกันคือ

1.PP (Polypropylene)

2.PE (Polyethylene)

3.POM (Polyoxymethylen/Polyformaldehyde) หรือ Acetal

4.PA (Polyamide)


4.2 รูปแบบ Layout ของสายพานให้เหมาะสมกับงานของท่าน

      
Layout ระบบสายพาน Modular แบบตรง (Straight)



Layout ระบบสายพาน Modular แบบเอียง (Incline)



Layout ระบบสายพาน Modular แบบ Z-type


      
Layout ระบบสายพาน Modular แบบโค้ง (Curve)


เมื่อได้ Layout แล้วก็สั่งซื้อ สายสายพาน Modular, Wear Strip และ Sprocket กับบริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด (Conveyor Guide Co.Ltd.) แล้ว เราก็จะให้แบบ Guide Design ของระบบสายพานแต่ละLayout ไปให้ท่าน เท่านี้ท่านก็สามารถสร้างโครงสร้างขึ้นตามระยะต่างๆที่เราให้ไปได้แบบง่ายๆ


ความเร็วที่แนะนำของสายพาน Modular      

      
Wear Strip วางแบบตรง กับวางแบบเฉียงก้างปลา


      



ตัวอย่างระยะ Guide Design ของระบบสายพานแบบตรง (Straight)

ท่านอาจจะมีปัญหาหรือข้อกังวล ไม่มั่นใจนิดหน่อยตอนเลือกขนาดของมอเตอร์ เนื่องจากว่าท่านอาจไม่มีความชำนาญด้านการคำนวณ ปรกติระบบสายพาน Modular ที่ใช้กันทั่วไปถือว่าเป็น Light Duty ใช้ ขนาดของมอเตอร์ ตั้งแต่ 180 Watt – 750 Watt ก็เพียงพอ สำหรับระบบสายพาน Modular ที่บรรทุกแบบ Heavy Duty เช่นกระสอบน้ำตาล รถยนต์ แบตตารี่ กล่องกระดาษ หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีน้ำหนักบรรทุก เป็น 100-500 Kg/Sq.M. ก็ไม่เป็นไรครับ บริษัท คอนเวเยอร์ไกด์ จำกัด ยินดีรับคำนวณหาขนาดของมอเตอร์ ใช้ท่านฟรีๆ เพียงท่านบอกข้อมูลดังต่อไปนี้มาให้เรา แล้วเราจะคำนวณขนาดของมอเตอร์ให้ท่านได้

วัสดุที่ขนคืออะไร

- ขนาดของ Package

- ความหนาแน่นของวัตถุ กี่ตันต่อ ลูกบาศก์เมตร

- ปริมาณการขนถ่ายที่ต้องการกี่ตัน-กี่ชิ้นต่อชั่วโมง

- Conveyor วางเอียงกี่องศา /หรืออยู่ในแนวราบ

- ต้องการใช้สายพานหน้ากว้างเท่าไร

5.สรุป

โดยรวมๆแล้วท่านจะสามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ของราคาทั้งหมดเป็นอย่างต่ำ เมื่อเปรียบเทียบที่จะต้องจ้างผู้รับเหมาทำทั้งหมด สงสัยสิ่งใด ส่งรายละเอียดทั้งหมดมาทาง E-mail จะสะดวกดีมากครับ อยากรู้อะไรเพิ่มเติมอย่างเร่งด่วน โทรศัพท์มาสอบถามรายละเอียด เรายินดีให้คำปรึกษาตลอดเวลา เพราะเรามี Motto การทำงานคือ ‘’Together We Share ไปด้วยกัน...เผื่อแผ่กัน’’ ครับ


Visitors: 56,347